วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

คัมภีร์Admission ตอนที่1 รู้เรื่อง Admission



          คราวนื้ถึงคิวพวกเราแล้ว ที่จะเข้าแข่งขันโอลิมปิก เอ๊ย! แอดมิชชั่น ชอบไม่ชอบก็ต้องเจอ นอกจากคิดว่าจะไปเรียนมอเอกชน ซึ่งก็แพงและดูไม่ไฮเท่าของรัฐบาล การที่ครูอยากให้พวกเราเข้าเรียน ม.ของรัฐ เพราะจะได้ของดีราคาถูก แต่ของดีใครก็อยากได้ ต้องแข่งขันกันหน่อย หลายคนมาถามครูว่า คณะนั้นคณะนี้ ปีนี้คะแนนจะเป็นไง จะเข้ายากมั้ย ของอย่างงี้มันบอกยากอ่ะ เราคงไม่รู้แน่ว่าความนิยมของแต่ละคณะและมหาวิทยาลัยในแต่ละปีมันจะมากน้อยแค่ไหน  แต่ก็พอประเมินได้จากค่าสถิติคะแนนสอบแต่ละครั้งที่ผ่านมา เพราะ Admission กลาง เราต้องสอบ GAT PAT ก่อนจึงจะเลือกคณะหรือสาขาทีหลัง  แต่ข้อดีก็คือ              เรามีคะแนนแล้วค่อยเลือกคณะ ทำให้มีโอกาสเลือกให้เหมาะสมได้ ไม่รู้แน่ว่าคะแนนควรจะเป็นเท่าไร       แล้วทำไงล่ะ ก็คงต้องเตรียมตัวของเราให้ดีที่สุดเอาไว้ก่อน เป้าหมายคือ ทำคะแนนให้มากที่สุดก่อน  ยังไงน่ะเหรอ….ม่ะมาดูกันว่าเราจะต้องเตรียมอะไรบ้าง                                                                                                                      
          แรกสุดที่เราต้องรู้  คือ  การจะเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น มีระบบการคัดเลือกอยู่สองแบบใหญ่ๆ คือ

1. คัดเข้า เพราะจำนวนคนที่อยากจะเข้ามีมาก แต่สถาบันการศึกษามีที่น้อย อาจารย์น้อย จึงต้องมีการคัดเลือกเข้าครั้งหนึ่งก่อนพวกนี้ก็คือสถาบันการศึกษาของรัฐทั้งหลาย                                                          

2. คัดออก แบบนี้ไม่มีปัญหา มีเงินแล้วเรียนจบ ม.๖ ก็สามารถสมัครเข้าเรียนได้ มาเท่าไหร่รับได้หมด นั่นคือสถาบันของเอกชนและมหาวิทยาลัยเปิด เขาไม่สนว่าจะมีคนมาสมัครมากเท่าไร เพราะในเวลาไม่นานพวกที่เรียนสนุก ลุกนั่งสบาย ก็จะรีไทร์สะดวกไปหมด เหลือขึ้นปี ๒-๓-๔ อยู่ไม่เท่าไหร่ สถาบันรับเงินไปเต็มๆ  ไม่เดือดร้อนอะไร แต่….ช้าก่อน ไม่ว่าจะเป็นคัดออกหรือคัดเข้า มีรีไทร์เหมือนกันทั้งนั้น แล้วรีไทร์ได้ทุกปีด้วยไม่จำกัดบางคน กว่าจะสอบเข้าได้แสนยากเย็น เข้าไปปีเดียวจบแระ....(รีไทร์) 555+  เมื่อรู้ดังนี้แล้ว จะได้ไม่ประมาทว่า เข้ามหาวิทยาลัยไปได้แล้วจะหลั่นล้าได้   ทีนี้อยากเข้าอ่ะ มาดูกันว่ากฎกติกามารยาทในการเข้ามหาลัยมันมีอะไรบ้าง  การจะเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยมีได้หลายทาง เช่น โควตา , สอบตรง , สอบตรงผ่านเคลียริ่งเฮ้าส์ , Admission กลาง , รับเข้าโครงการพิเศษต่างๆ , โครงการภาคภาษาอังกฤษ  หรือภาค inter อะไรประมาณเนี้ยะ  การสอบก็มีสอบสัมภาษณ์อย่างเดียว สอบข้อเขียนวิชาต่างๆ  แสดงความสามารถ   แฟ้มสะสมงาน และก็อื่นๆ  แต่ทั่วๆไปมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีการเรียน    การสอนเป็นภาษาไทยก็จะรับนักเรียนด้วยวิธีสอบตรง , สอบตรงผ่านเคลียริ่งเฮ้าส์ , Admission กลาง  และโควตา  ติดตามต่อในตอนที่ 2 นะจ๊ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น