วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

คัมภีร์Admission ตอนที่2 รูปแบบการรับเข้าเรียนมหาวิทยาลัย


1. โควตา 
          คือ รับเข้าเรียนตามความต้องการของมหาวิทยาลัย เขาอยากจะกำหนดคุณสมบัติอย่างไรตามใจเขา เช่นเกรดเท่าไร , เรียนวิชาอะไรกี่หน่วยกิต , ที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ภาคไหน (บอกได้เลยว่าโรงเรียนเราไม่มีร้อกโควตาจังหวัดน่ะ555++) ,ความสามารถพิเศษต่างๆ ฯลฯ ใครที่มีคุณสมบัติตามที่เขาต้องการก็ไปสมัครเอา ส่วนการสอบจะมีสอบหรือไม่มีก็แล้วแต่เด้อ บางที่สัมภาษณ์ ดูแฟ้มสะสมงาน แล้วรับเลยก็มี ส่วนใหญ่จะเป็นโควตาเรียนดี แล้วก็ความสามารถพิเศษต่างๆ ใครมีก็เตรียมตัวทำ Portfolio ไว้ คือ  แฟ้มสะสมงานนั่นแหละ เตรียมไว้ได้เลย สามารถอะไรก็จาระไนไปในแฟ้ม รางวัลเกียรติบัตรอะไรมีก็ใส่ไป  แฟ้มนี่ควรจะทำให้เสร็จก่อนขึ้นมอหก ก้อจะดี  ถ้ามีใบอะไรเพิ่มเติมก้อเพิ่มได้ ดีกว่าวินาทีสุดท้ายที่จะต้องส่งแล้วมานั่ง make  ไม่ทันเด้อค่ะ  โดยเฉพาะคณะที่ต้องแสดงความสามารถให้เค้าเห็น เช่น คณะทางศิลปะ มัณฑนศิลป์ สถาปัตย์ พวกเนี้ย  แล้วแฟ้มสะสมงานนี่ต้องเนี้ยบ เอางานที่คิดว่าเจ๋งของเราใส่ไปไม่จำเป็นต้องเป็นงานที่ได้รางวัลเสมอไป งานที่ส่งครูก็ได้ที่เรา design เองก็ได้ รูปลักษณ์จะออกมาเป็นแฟ้มจริงๆหรือนำเสนอเป็นแผ่นดิสก์ก็ได้ การทำ port เนี่ยนะมีตัวช่วยเยอะแยะใน website ไปหาเอาเด้อค่ะหรือสนใจเพิ่มเติมก้อติดต่องานแนะแนวได้เลย มีตัวอย่างให้ดู  โควตาแบบนี้มีมาหลายมหาวิทยาลัย อย่างพระจอมฯทั้งสามที่ (บางมด ลาดกระบัง พระนครเหนือ) มศว , ศิลปากร , เกษตร , มหิดล , มช.ฯลฯ


2. รับตรง
          คือ มหาวิทยาลัยรับเองสอบเอง หรือรับเองแต่ขอใช้คะแนน                    GAT, PAT ด้วย ที่เห็นๆก็มี ธรรมศาสตร์  มหิดล  ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) จุฬาฯ ศิลปากร (บางคณะ)  พระจอมฯทั้งสามที่ (บางมด ลาดกระบัง พระนครเหนือ)  พวกนี้จะคล้ายๆโควตา เพียงแต่จะไม่เกี่ยวกับความสามารถพิเศษ  ประมาณมีคุณสมบัติตามที่กำหนดก็มา สอบเอา จะสอบวิชาอะไรแบบไหนมหาลัยกำหนดไป แต่การเตรียมตัวเพื่อที่จะสอบเนี่ยแหละ ที่สำคัญ เราต้องไปดูก่อนว่าวิชาที่แต่ละคณะกำหนดให้สอบมันคืออะไร แล้วจะเตรียมสอบยังไงบางวิชาเกิดมาไม่เคยได้ยินเช่นความถนัดเฉพาะของวิชานั้นนี้นี้นู้นหรือแม้แต่บางวิชาที่ดูหมูๆ หยั่งเรียงความ ย่อความ เนี่ย ถ้าไม่เคยลองทำดูเลยหมูก็อาจมีเขี้ยวได้จร้า แปลกแต่จริง  เนี่ยเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กโยธินฯ ถึงไม่ค่อยติดสอบตรงกาน เพราะประมาทของง่ายนี่เอ๊งงง แล้วเนี่ยนะ ไปสอบตรงไม่ติด กลับมาเสียเซล์ฟมั่กๆอ่ะตัวเอง T_T 
หยั่งสอบ SMART 1 ก้อเหมือนกัน ฟันธงไว้เลยว่าถ้าอยากเรียนบัญชี  บริหาร ธรรมศาสตร์ละก้อ เตรียมตัวไว้ให้ดี เพราะทุกอย่างเตรียมได้ตั้งแต่ ม.4  เตรียมตัวดีดีแล้ว ม.5 หรือต้นม. 6 ค่อยมาสอบก็ได้ คะแนนสอบเก็บไว้ได้สองปี  ถ้าได้แล้วก็นอนตีพุงสบายๆ ไม่ต้องไปเครียดแอดมิชชั่นกลางกะเค้าเลย แต่ที่พวกเราพลาดบ่อยๆก็คือ สนใจจะสอบแต่เลข แต่ SMART 1  มีตั้งหลายส่วน แค่เลขอย่างเดียวใช้ 30% เอ๊ง  ที่เหลือคือความสามารถทางด้านการอ่าน  คือ  ทำความเข้าใจคิดวิเคราะห์  และสรุปประเด็น  (เป็นภาษาไทยนะจ๊ะ) อีก 30% ภาษาอังกฤษ เน้นทักษะการอ่านอีก 30% ความรู้รอบตัว ทั่วไปอีก 10% ง่ายกว่าเย้อะ!! ดีกว่าไปรอสอบ Admission กลาง ซึ่งคิดคณิต ม. ปลาย (PAT 1) ตั้ง 20% (ยากกว่ามั่กๆน่ะตัวเอง)  อ่ะ...เดี๋ยวเล่าให้ฟังนิดนึง
ข้อสอบ SMART for Undergraduate Level ( SMART I )                                                 (รายละเอียดที่   http://smart.bus.tu.ac.th/ ) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความพร้อมของผู้เข้าสอบในการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ (ข้อสอบเป็นภาษาไทย) โดยประกอบด้วย                             - วัดความสามารถด้านคณิตศาสตร์ 30% ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ โดยเน้นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพีชคณิต จำนวนจริง เซต ฟังก์ชัน เรขาคณิตวิเคราะห์ ลำดับและอนุกรม วิธีเรียงสับเปลี่ยนและจัดหมู่ ความน่าจะเป็น และสถิติ
          - วัดความสามารถด้านการอ่าน 30% ความสามารถในการทำความเข้าใจ วิเคราะห์ และสรุปประเด็นของข้อความหรือบทความ ซึ่งความสามารถด้านการอ่านเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ
          - วัดความสามารถด้านภาษาอังกฤษ 30% เน้นทักษะด้านการอ่านบทความ คำศัพท์ และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ                                                                    - วัดความรู้รอบตัว 10% ความรอบรู้ในด้านธุรกิจ เศรษฐกิจสังคม การเมือง และเทคโนโลยี รวมถึงข่าวสารต่างๆ ในปัจจุบันความรอบรู้ในด้านต่างๆ เหล่านี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญซึ่งบ่งบอกถึงความเหมาะสม  ในการศึกษาด้านการบัญชีและบริหารธุรกิจและมีการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งไม่มีคะแนน    
                                                                   
3. สอบตรง/เคลียร์ริ่งเฮ้าส์ 
          คือ  มหาวิทยาลัยรับเองแต่ไม่จัดสอบเอง ขอใช้คะแนน GAT, PAT  แบบว่าขี้เกียจจัดสอบอ่ะ  อย่างนี้ก็ต้องสมัครไว้ก่อนแล้วไปสอบ  GAT ,  PAT    แล้วมหาลัยจะเอาคะแนน  มาดูอีกทีว่าคะแนนขนาดเนี้ย จะเอาไม่เอา กว่าจะรู้ว่าได้ไม่ได้  ก็นู้น เดือนหรือสองเดือนก่อนประกาศผล  แอดมิชชั่นกลาง นู่นแหละ รอลุ้นเอา เอ้า พอพูดถึงตรงนี้แล้วก็จะเล่าเรื่อง clearing house กันหน่อย    คือ  ว่าถ้าไปสอบตรงไว้แล้วติดหลายๆที่ (ที่ตกลงกันไว้ว่าจะเข้าระบบ clearing house) พอเดือน  พ.ค. 57 นักเรียนต้องเข้าระบบ clearing house เพื่อยืนยันการเลือกที่เรียนได้ที่เดียวเท่านั้น สามารถเข้าไปเลือกได้สามครั้ง หลังจากนั้นระบบก็จะรวบรวมที่นั่งที่เหลือเลือกไปให้กับแอดมิชชั่นกลางต่อไป วิธีนี้ทำให้ไม่มีที่ว่างเหลือในคณะต่างๆเนื่องจากนักเรียนสละสิทธิ์ เข้าใจแล้วนะคระ ถ้าคนที่สอบตรงในระบบ clearing house  ได้ แต่ไม่เข้าไปยืนยันสิทธิตามรัฐธรรมนูญ เอ๊ย ตามกำหนดเวลา ก็จะถูกตัดสิทธิไปเลยโดยอัตโนมัติ ถือว่าไม่ประสงค์จะเข้าเรียนที่ไหนเลยจ้ะ

          ทีนี้การรับเข้านั้น คณะหนึ่งหรือสาขาหนึ่งนั้นอาจรับได้หลายแบบ โควตาก็มี รับตรงก็เอา เราต้อง  คอยติดตามข่าวให้ดี ช่วงตั้งแต่เดือนพฤษภาเป็นต้นไปก็จะมีข่าวรับตรง / โควตามาเป็นระยะ ใครที่จะสอบพวกนี้ต้องรู้ตัวตั้งแต่มอสี่มอห้า พอปิดเทอมใหญ่ก็มีเวลาเตรียมตัวได้  ถ้ารอตอนขึ้นมอหกไม่ทันนะจ๊ะ ฤดูกาลสอบตรงก้อสิงหา กันยาก็สอบกันแล้วนะ จะมีหลุดไปถึงมกรา+กุมภาบ้างก็น้อยแล้วละ และประมาณ ธันวา มกรา ก็รู้ชะตากรรมแล้ว    (ไม่รู้รุ่น ปี2558 ของเรามีการเลื่อนสอบตรงกันมั้ย ถ้าเลื่อน พวกเราก็มีเวลาเพิ่มอีกหน่อย ตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการหลายอย่าง เพราะมหาวิทยาลัยจะเปิดภาคกันเดือนสิงหาคม)  ถ้าไม่ติด   ก็ก้มหน้าอ่านหนังสือต่อไปจะเงยหน้าอ่านก็จะเมื่อยคอซะเปล่าๆเนอะตัวเอง                                                         
  เรื่องต่อไปก็คือ การสอบ 7 วิชาสามัญ (ไทย  สังคม อังกฤษ คณิต เคมี ชีวะ ฟิสิกส์) อันนี้เป็นข้อสอบกลางสำหรับการรับตรงของหลายมหาวิทยาลัยที่ตกลงกันว่าจะไม่จัดสอบเอง ให้ใช้ข้อสอบกลาง ไปเลย สอบทีเดียวแล้วเอาคะแนนไปใช้ด้วยกัน เหมือนสอบ Gat Pat โดยมหาลัยจะประกาศรับสมัครก่อน แล้วแจ้งว่าจะใช้คะแนนสอบ 7 วิชา (ไม่ต้องใช้ทั้ง 7 วิชานะ จะใช้กี่วิชาแล้วแต่เค้ากำหนด) เราก็ไปสมัครไว้แล้วถึงเวลาก็ไปสอบ  เดี๋ยวถึงกำหนด  มหาลัยจะแจ้งเองแหละ ว่าเราสอบได้รึไม่ได้ แล้วถ้าสอบไม่ได้หรือไม่มีคณะที่อยากได้ที่เปิดรับตรง โควตา หรือ Admission ตรงล่ะก็มาเนี่ยเลย เด้งที่สอง

4.Admission กลาง 
         คือ การสอบรวมกันทั่วประเทศ เลือกเรียนได้ทุกมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม (ทุกที่ของรัฐบาลและเอกชนบางที่) ไม่กำหนดเกรดหรืออื่นๆ เกรดเท่าไร เรียนสายอะไรมีสิทธิ์สมัครสอบได้หมด (แต่สอบได้ไม่ได้นั่นอีกเรื่องนึงนะ) ขออย่างเดียวให้จบมอหก การสอบต้องเลือกสอบวิชาตามที่เค้ากำหนด ว่าคณะอะไรต้องสอบวิชาอะไรบ้างและต้องไม่เรียนสูงกว่าปี 1 ในมหาวิทยาลัย คือปีหนึ่งยังกลับมา Admission ได้อยู่ เผื่อไม่ชอบคณะที่เรียนหรือมันไกลไป  หรืออะไรต่ออะไรแล้วแต่โยม

คัมภีร์Admission ตอนที่1 รู้เรื่อง Admission



          คราวนื้ถึงคิวพวกเราแล้ว ที่จะเข้าแข่งขันโอลิมปิก เอ๊ย! แอดมิชชั่น ชอบไม่ชอบก็ต้องเจอ นอกจากคิดว่าจะไปเรียนมอเอกชน ซึ่งก็แพงและดูไม่ไฮเท่าของรัฐบาล การที่ครูอยากให้พวกเราเข้าเรียน ม.ของรัฐ เพราะจะได้ของดีราคาถูก แต่ของดีใครก็อยากได้ ต้องแข่งขันกันหน่อย หลายคนมาถามครูว่า คณะนั้นคณะนี้ ปีนี้คะแนนจะเป็นไง จะเข้ายากมั้ย ของอย่างงี้มันบอกยากอ่ะ เราคงไม่รู้แน่ว่าความนิยมของแต่ละคณะและมหาวิทยาลัยในแต่ละปีมันจะมากน้อยแค่ไหน  แต่ก็พอประเมินได้จากค่าสถิติคะแนนสอบแต่ละครั้งที่ผ่านมา เพราะ Admission กลาง เราต้องสอบ GAT PAT ก่อนจึงจะเลือกคณะหรือสาขาทีหลัง  แต่ข้อดีก็คือ              เรามีคะแนนแล้วค่อยเลือกคณะ ทำให้มีโอกาสเลือกให้เหมาะสมได้ ไม่รู้แน่ว่าคะแนนควรจะเป็นเท่าไร       แล้วทำไงล่ะ ก็คงต้องเตรียมตัวของเราให้ดีที่สุดเอาไว้ก่อน เป้าหมายคือ ทำคะแนนให้มากที่สุดก่อน  ยังไงน่ะเหรอ….ม่ะมาดูกันว่าเราจะต้องเตรียมอะไรบ้าง                                                                                                                      
          แรกสุดที่เราต้องรู้  คือ  การจะเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น มีระบบการคัดเลือกอยู่สองแบบใหญ่ๆ คือ

1. คัดเข้า เพราะจำนวนคนที่อยากจะเข้ามีมาก แต่สถาบันการศึกษามีที่น้อย อาจารย์น้อย จึงต้องมีการคัดเลือกเข้าครั้งหนึ่งก่อนพวกนี้ก็คือสถาบันการศึกษาของรัฐทั้งหลาย                                                          

2. คัดออก แบบนี้ไม่มีปัญหา มีเงินแล้วเรียนจบ ม.๖ ก็สามารถสมัครเข้าเรียนได้ มาเท่าไหร่รับได้หมด นั่นคือสถาบันของเอกชนและมหาวิทยาลัยเปิด เขาไม่สนว่าจะมีคนมาสมัครมากเท่าไร เพราะในเวลาไม่นานพวกที่เรียนสนุก ลุกนั่งสบาย ก็จะรีไทร์สะดวกไปหมด เหลือขึ้นปี ๒-๓-๔ อยู่ไม่เท่าไหร่ สถาบันรับเงินไปเต็มๆ  ไม่เดือดร้อนอะไร แต่….ช้าก่อน ไม่ว่าจะเป็นคัดออกหรือคัดเข้า มีรีไทร์เหมือนกันทั้งนั้น แล้วรีไทร์ได้ทุกปีด้วยไม่จำกัดบางคน กว่าจะสอบเข้าได้แสนยากเย็น เข้าไปปีเดียวจบแระ....(รีไทร์) 555+  เมื่อรู้ดังนี้แล้ว จะได้ไม่ประมาทว่า เข้ามหาวิทยาลัยไปได้แล้วจะหลั่นล้าได้   ทีนี้อยากเข้าอ่ะ มาดูกันว่ากฎกติกามารยาทในการเข้ามหาลัยมันมีอะไรบ้าง  การจะเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยมีได้หลายทาง เช่น โควตา , สอบตรง , สอบตรงผ่านเคลียริ่งเฮ้าส์ , Admission กลาง , รับเข้าโครงการพิเศษต่างๆ , โครงการภาคภาษาอังกฤษ  หรือภาค inter อะไรประมาณเนี้ยะ  การสอบก็มีสอบสัมภาษณ์อย่างเดียว สอบข้อเขียนวิชาต่างๆ  แสดงความสามารถ   แฟ้มสะสมงาน และก็อื่นๆ  แต่ทั่วๆไปมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีการเรียน    การสอนเป็นภาษาไทยก็จะรับนักเรียนด้วยวิธีสอบตรง , สอบตรงผ่านเคลียริ่งเฮ้าส์ , Admission กลาง  และโควตา  ติดตามต่อในตอนที่ 2 นะจ๊ะ

บริการแนะแนว 5 ด้าน


บริการแนะแนว 5  บริการ

1. บริการหลักที่งานแนะแนวจัดให้นักเรียน มีดังต่อไปนี้

1. บริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล
เป็นบุริการที่จำเป็นพื้นฐานในการที่จะให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้อง เพราะจะทำให้ได้ทราบปัญหา หรือข้อบกพร่องในตัวนักเรียน เพื่อดำเนินการแก้ไขได้ถูกต้องและนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาเป็นองค์ประกอบในการจัดบริการอื่น ๆ ต่อไป งานบริการด้านนี้ได้แก่
บันทึกประวัตินักเรียนทุกคนไว้ในระเบียนสะสม
บริการข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ทดสอบความถนัด ความสนใจของนักเรียน
สำรวจพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียน

2. บริการสนเทศ
เป็นบริการให้ความรู้แก่นักเรียนในหลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ รู้จักตัดสินใจ และวางแผนอนาคตอย่างฉลาด ได้แก่
การจัดสอนให้ความรู้ต่าง ๆ ในคาบกิจกรรมแนะแนว
การจัดป้ายนิเทศ
การจัดทำเอกสารที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียน
การจัดอภิปราย บรรยาย ให้ความรู้ในด้านการศึกษาอาชีพ และการปรับตัวในสังคม
การจัดวันอาชีพ
การจัดสัปดาห์แนะแนวทางศึกษาต่อ
การจัดฉาย ภาพยนตร์  วีดีโอ สไลด์ที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน


3. บริการให้คำปรึกษา
เป็นบริการที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของงานแนะแนว โดยเฉพาะการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่ และในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบัน งานบริการในด้านนี้ คือ
ให้คำปรึกษานักเรียนที่มีปัญหาด้านส่วนตัว การเรียน และอาชีพ
ศึกษาและหาทางช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
เสนอแนะแนวทางปฏิบัติตน เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ
บริการให้คำปรึกษาจะช่วยผ่อนคลายความเครียดในจิตใจของนักเรียนและผู้ปกครองโดย อาจารย์แนะแนวมีจรรยาบรรณที่จะ "รักษาความลับของนักเรียน" ฉะนั้นการเข้าไปคุยกับครูแนะแนวจึงเป็นเรื่องที่เด็กฉลาดควรทำ ไม่ควรคิดผิด ๆ ว่า"เฉพาะเด็กที่มีปัญหาเท่านั้นที่จะเข้าห้องแนะแนว" อาจารย์แนะแนวพร้อมที่จะเป็นคู่คิด เป็นที่ปรึกษาทั้งการเลือกวิชาเรียนการศึกษาต่อ การหางานทำ หรือปัญหาส่วนตัว งานแนะแนวยินดีช่วยนักเรียนเสมอ



                        
 4.บริการจัดวางตัวบุคคล

1.     ช่วยจัดวางตัวนักเรียนให้เลือกวิชาเรียนตามความถนัดของ
ตนเอง เช่น หลักสูตรมัธยมศึกษา 4-5-6 ในปัจจุบันต้องเลือกเรียนวิชา
ตามความถนัดหรือความสามารถของตนเอง ซึ่งนักเรียนต้องเป็นผู้
พิจารณาว่าตนเองจะสามารถศึกษาเล่าเรียนในวิชาที่ตนเลือกจน
ประสบความสำเร็จหรือไม่ สิ่งเหล่านี้จึงจำเป็นต้องปรึกษาหารือกับ
บุคลากรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับด้านนี้โดยตรง

2.     ช่วยจัดวางตัวนักเรียนให้เรียนวิชาตรงตามหลักสูตร เมื่อนักเรียนได้มีโอกาสเลือกวิชาเรียนได้ตามความถนัดของตนเอง 
นักเรียนก็จะต้องเลือกวิชาเรียนให้ตรงตามหลักสูตรที่ตนเองเลือกไว้ 
และต้องเลือกวิชาที่มีประโยชน์ตรงตามความสนใจของตนเอง

3.     ช่วยจัดวางตัวนักเรียนให้เรียนกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ดีและ
มีคุณค่า ซึ่งผู้แนะแนวจะต้องคอยให้คำปรึกษาให้นักเรียนได้เลือก
กิจกรรมด้วยความฉลาดและใช้วิจารณญาณอย่างดี เป็นการเสริมสร้าง
ทางด้านวิชาการให้มั่นคงยิ่งขึ้น

4.     ช่วยจัดวางตัวนักเรียนเข้าร่วมโครงการและจัดประสบการณ์
ในการทำงาน เป็นการจัดให้นักเรียนได้ทำงานในเวลาว่าง หรืองาน
ระหว่างปิดภาคเรียน ช่วยจัดประสบการณ์ที่มีคุณค่าให้แก่นักเรียน ให้
นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้อาชีพต่างๆ และช่วยให้มีรายได้จากการ
ทำงานที่ตนเองชอบ เป็นการช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจอีกด้วย

        5.     ช่วยจัดวางตัวนักเรียนให้เข้าฝึกทักษะ เสริมสร้างความอดทน    
           ในการปฏิบัติงาน       





                       
 5.งานติดตามผลและประเมินผล

                       ติดตาม ดูแลพฤติกรรมและพัฒนาการของผู้เรียน

                       ติดตามผลผู้เรียน

                       ประเมินผลการดำเนินงานแนะแนว



***********************************************************

ขอบข่ายบริการแนะแนว


ขอบข่ายของการจัดบริการแนะแนว




1.ขอบข่ายการแนะแนวการศึกษา (educational guidance) เป็นการแนะแนวนักเรียนด้านที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนในสถานศึกษาปัจจุบัน เช่นโครงสร้างหลักสูตร  แผนการเรียน การวัดผลประเมินผล

2.ขอบข่ายการแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ (vocational guidance) เป็นการแนะแนวเกี่ยวกับการศึกษาต่อและการเตรียมตัวประกอบอาชีพหลังจากที่เรียนจบไปแล้ว

3.ขอบข่ายการแนะแนวส่วนตัวและสังคม ( personal and social guidance) เป้นการแนะแนวนักเรียนที่จะช่วยให้มีชีวิต ความเป็นอยู่ที่มีความสุขทั้งร่างกายจิตใจ มีอารมณ์ที่มั่นคง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้